วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

MIS (Management Information System)

ความหมาย
1.รศ.ดร. อนุมงคล ศิริเวทิน และ ผศ.ดร. สมบูรณ์วัลย์ เหมศาสตร์ คำจำกัดความอย่างกว้างขวางที่เป็น สาระ ที่สำคัญของ MIS คือ ระบบการประมวลข้อสนเทศ ( Information Processing ) หมายความถึงการนำข้อมูลมา ประมวลผล เพื่อให้ได้ ข้อสนเทศ โดยออกแบบชัดเจน ถึง แหล่งข้อมูล วิธีการ และ ระยะเวลา ที่จะนำข้อมูล มาดำเนินกระบวนการ เปลี่ยนสภาพ ข้อมูล เป็น ข้อสนเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการ ตัดสินใจ ในการบริหารงานขององค์กร อย่างทันการ
2. ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย ( อาจารย์ประจำสาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องระหว่าง มนุษย์ กับ เทคโนโลยี ด้านข่าวสารข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ สารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติงาน การบริหาร การตัดสินใจ ภายในองค์กร
3.วัชราภรณ์ อิสิชัยกุล ( อาจารย์ประจำภาควิชาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ) คำว่า Management Information System หรือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร นั้น ไม่มีคำจำกัดความที่แน่นอนตายตัว เราจึงจะเห็นได้ว่า มีผู้ให้คำจำกัดความของ MIS ไว้ต่าง ๆ กัน ดังเช่น Walter I Kennevan ได้ให้คำจำกัดความของ MIS ไว้ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป ดังนี้


“an organized method of providing past, present, and projection information relating to internal operations and external intelligence. It supports the planning, control, and operational functions of an organization by furnishing uniform in the proper timeframe to assist the decision-making process”


คำจำกัดความอื่น ๆ ของ MIS


3.1 The set of human and capital resources within the organization, which is responsible for the collection and processing of data to provide information that is useful to all level of management in planning and controlling the activities of the organization.
3.2 A MIS ( whether computer-based or manual ) as a communicative process in which data are accumulated, processed, stored, and transmitted to appropriate organizational personnel for the purpose of providing information on which to base management decisions. As such then, an information system consists of, at least, a person of a certain psychological type who aces a problem within same organizational context for which he need evidence to arrive at a solution, where the evidence is made available through some mode of presentation.


( ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน / ดร. สมบูรณ์วัลย์ เหมศาสตร์ )


ทำไมต้องมี MIS
-การตัดสินใจบางระดับ อาจอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ที่ระบุไว้แล้วค่อนข้างแน่ชัด ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ที่เรียกว่า “Programmed Decision”
-การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ไม่มีการกำหนดแนวทางไว้ล่วงหน้า
-ผู้บริหารที่มีระดับยิ่งสูง ยิ่งมีภาระในการตัดสินใจมากขึ้น
-ผลการตัดสินใจ สะท้อนโดยตรงต่อความสำเร็จของหน่วยงานนั้น ๆ


ดังนั้น ข้อมูลจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะชี้ความถูกต้องของการตัดสินใจ ที่ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และ ประสิทธิผล ( effectiveness )


ข้อมูล ( Data )
คือ ข้อเท็จจริง หรือ สาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ มีลักษณะทั่วไป คือ
1. เป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษร
2. ได้จากการดำเนินงาน หรือ ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ
3. นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจไม่ได้


สารสนเทศ ( Information )
คือ ข้อมูล ที่ผ่านการ ประมวลผล แล้ว มีลักษณะทั่วไปคือ
1. สภาพข้อมูลมีรูปแบบ
- ที่มีความสัมพันธ์
- ที่มีความเกี่ยวข้อง
2. นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้
3. นำไปใช้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้


ตัวอย่างการประมวลผล
อย่างธรรมดา
- หาค่าเฉี่ย
- จัดเรียงลำดับ
- คิดอัตราร้อยละ
ชั้นสูง
- วิจัยดำเนินงาน
- วิธีทางสถิติ


วัฏจักรของการตัดสินใจ
ข้อมูล ถูกประมวลผล ได้ สารสนเทศ เป็นองค์ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือ นโยบาย การตัดสินใจ ถูกนำไป ปฏิบัติ เกิด ข้อมูลใหม่ เข้าสู่ กระบวนการ ประมวลผล


สิ่งที่เป็นปัญหาต่อกระบวนการตัดสินใจ
คือ การขาดข้อมูล ทำให้ ผู้บริหารต้องตัดสินใจ ด้วย ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ( ซึ่ง อาจผิดพลาด ถ้ามีไม่เพียงพอ ) และ เกินวิสัย ที่ผู้บริหารคนเดียว จะแสวงหา ข้อมูล ตามลำพัง ( มาเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ )


MIS ถูกสร้างขึ้นเป็น แหล่ง สารสนเทศ ให้แก่ผู้บริหาร ระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับ Operational Control เป็นการบริหารงาน ระดับล่างสุด ที่ควบคุมการดำเนินงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ระดับ Managerial Control เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ งบประมาณ และ การจัดสรรทรัพยากร สารสนเทศ จะช่วยตัดสินใจการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัด ให้แก่งานประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
3. ระดับ Strategic Planning เป็นระดับของการวางนโยบาย ที่จะทำให้วัตถุประสงค์บรรลุความสำเร็จ สารสนเทศ จะช่วยการตัดสินใจ ให้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้อง

MIS คือระบบการผลิต สารสนเทศ เพื่อการบริหาร
1. ข้อมูล และ แหล่งข้อมูล ถูกออกแบบอย่างเด่นชัด
2. มีวิธีการ และ ระยะเวลา ที่จะนำข้อมูลมาประมวลผล
3. สารสนเทศ เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ในการบริหารงานขององค์กรได้ทันการณ์
4. สารสนเทศ สนับสนุนงานการนริหารได้ทุกระดับ

ลักษณะของ MIS
1. MIS ต้องสนับสนุนการบริหารงานในทุกระดับ
2. MIS ควรจะสามารถเชื่อมโยง หรือ ประสานงานระบบข้อมูลในหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ได้
3. MIS ต้องมีข้อมูลพร้อมที่จะถูกประมวลผล เพื่อให้คำตอบแก่ผู้บริหารได้เสมอ สำหรับความต้องการที่เรียกว่า Unstructured Request
4. MIS ควรเป็นระบบซึ่งสามารถนำ เทคนิค การวิจัยดำเนินงาน มาใช้ได้
5. MIS ควรมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่แน่นอน และไม่ซ้ำซ้อนกันโดยนัย มีการจัดเก็บ ข้อมูล ไว้แห่งเดียว เพื่อสะดวกต่อการแก้ไขปรับปรุง


ความล้มเหลวของ MIS
1. ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
2. สารสนเทศที่ได้ ไม่ช่วยการบริหารงาน เพียงถูกใช้ควบคุมงานประจำวันเท่านั้น
3. การทำ MIS เป็น Total Information System นั้น ทำได้ยาก และ ส่วนใหญ่ เป็นไปไม่ได้
4. การสร้าง MIS ใช้ต้นทุนสูงเกินความจำเป็น เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

แฟ้มข้อมูล ( Data Files )
1. ส่วนประกอบ ได้แก่ Field หรือ Data Item กับ ระเบียน ( Record )
2. ประเภท
2.1 แฟ้มข้อมูลหลัก ( Master File หรือ Dynamic File )
2.2 แฟ้มรายการปรับปรุง ( Transaction File )
2.3 แฟ้มอ้างอิง ( Reference File )
2.4 แฟ้มข้อมูลเก่า ( Historical File )
3. การปรับ ( Updating )
3.1 เพิ่ม
3.2 ตัด
3.3 แก้ไข
4. การจัด ( Organizing )
4.1 Serial หรือ Sequential
4.2 Direct
4.3 Indexed Sequential
5. การประมวลผล ( Processing ) เช่นเดียวกับ การจัด
6. แนวความคิดของระบบฐานข้อมูลหลัก
6.1 การซ้ำซ้อนของข้อมูล
6.2 ความผิดพลาดของข้อมูล
6.3 ความพร้อมของข้อมูล
6.4 การควบคุมระบบข้อมูล
7. ปัญหา เมื่อมีการใช้ข้อมูล ร่วมกัน ในระบบฐานข้อมูลหลัก
7.1 ความลับของข้อมูล
7.2 สิทธิส่วนบุคคล
7.3 เจ้าของ / ผู้รับผิดชอบข้อมูล
7.4 การตรวจสอบข้อมูล
7.5 ผลกระทบจากความผิดพลาด


รูปแบบของ MIS
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์กรนั้น ๆ เช่น
-ลักษณะการแบ่งงาน
-ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน
-ความพร้อมของกิจกรรมต่าง ๆ
แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1. MIS ย่อย ใช้เฉพาะในหน่วยงานย่อย
2. MIS รวม ใช้ทั้งองค์กร


เปรียบเทียบ ข้อดี – ข้อเสีย
MIS ย่อย
ข้อดี
1. ลักษณะของข้อมูล คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติประจำอยู่แล้ว ( เข้าใจง่าย ผิดพลาดน้อย )
2. ใช้ บุคลากร งบประมาณ เวลาดำเนินการ ค่อนข้างน้อย
3. โอกาสสร้าง MIS ได้สำเร็จ อยู่ในระดับสูง
ข้อเสีย
1. ความพร้อมที่ไม่เท่ากันของหน่วยงานย่อย รวมทั้ง การรวบรวมและความทันสมัยของข้อมูล เป็น อุปสรรคต่อการผลิต สารสนเทศ เป็นส่วนรวมที่ผู้บริหารต้องการ
2. ข้อมูลประเภทเดียวกัน ปรากฏในหลายหน่วยงานย่อยเป็น นัย แห่งความซ้ำซ้อน และ ความขัดแย้ง ทำให้ ขาดความน่าเชื่อถือ และ เสียค่าใช้จ่ายสูง


MIS รวม
ข้อดี
1. เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานย่อยด้วยกัน เป็นไปอย่างแน่นแฟ้น
2. แก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อน และ การขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ขอบข่ายของการดำเนินงานสร้าง MIS กว้างกว่าของหน่วยงานย่อย
2. จำเป็นต้องสร้างหน่วยงานใหม่ ที่ต้องได้รับการจัดสรร งบประมาณ และ บุคลากร เฉพาะ
3. โอกาสสร้าง MIS ได้สำเร็จ อยู่ในระดับต่ำ


ขั้นตอนของการสร้าง MIS
1. วิเคราะห์ตรวจสอบ ความต้องการ สารสนเทศ ของผู้บริหาร ( การใช้ประโยชน์ ความจำเป็น )
2. วางระบบการรวบรวม และ ผลิต สารสนเทศ ( แหล่งข้อมูล เวลา วิธี )
3. จัดทำคู่มือ อธิบายการเก็บรวบรวม และ ประมวลผลข้อมูลรวมทั้ง คู่มือการใช้โปรแกรม ( ในกรณี ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล )


ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ MIS
1. ผู้บริหาร
- ระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการวางระบบการเก็บรวบรวม และ ประมวลผลข้อมูล
2. ผู้ปฏิบัติ
- มีความรู้ / ประสบการณ์ ด้านการบริหารงาน และ ด้านการวางระบบ
- มีความสามารถใน การประสานงาน การสอบถามความต้องการที่แท้จริงและ อธิบายให้ผู้บริหารเข้าใจ ถึง วิธีการใช้ประโยชน์จาก สารสนเทศ


ลักษณะของข้อมูล หรือ สารสนเทศ
ในแนวความคิดของ MIS ที่จำแนกตามระดับของผู้บริหาร มีลักษณะเป็นรูป ปิรามิด ที่แบ่งออกเป็น 4 ชั้น

ชั้นที่ 4 กำหนดนโยบาย สารสนเทศ เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในองค์กร ( ปริมาณ ข้อมูล ต่ำ )

ชั้นที่ 3 เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ หรือ จัดสรร งบประมาณ ให้แก่หน่วยงานย่อยต่าง ๆ

ชั้นที่ 2 ปริมาณข้อมูลน้อยลง ผู้บริหารใช้ สารสนเทศ ของตนเอง

ชั้นที่ 1 ดำเนินงานประจำ ( Routine ) เกิดข้อมูลมากมาย เป็นฐานของ สารสนเทศ ระดับสูง

ลักษณะอื่น ๆ ของ MIS

More Structure หมายถึง ลักษณะของ สารสนเทศ หรือ ลักษณะของการตัดสินใจ ( ซึ่ง ) มีตัวแบบ และ โครงสร้างที่แน่ชัด

Less Structure หมายถึง ลักษณะของ สารสนเทศ หรือ ลักษณะของการตัดสินใจ ( ซึ่ง ) ความเด่นชัด แปรผกผัน กับ ระดับ

Lowพ-level management and clerical หมายถึง การบริหารงาน หรือ การจัดการในระดับล่าง

Higher-level management หมายถึง การบริหารงาน หรือ การจัดการในระดับสูง

Programmed Decision หมายถึง ลักษณะการตัดสินใจที่มีแนวทาง และ หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ค่อนข้างแน่นอน

Non-programmed Decision ความหมายตรงข้ามกับ ProgrammedDecision

Environment Data หมายถึง ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงานขององค์กร ซึ่ง บางครั้งจำเป็นต้องจัดเข้าอยู่ใน MIS ด้วย เช่น รายได้เฉลี่ยต่อคน จำนวนประชากร อัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ ระหว่าง การแบ่งหน่วยงานย่อย ขององค์กร กับ รูปแบบ ของ MIS

1. หน่วยงานย่อย ใน หน่วยงานใหญ่ มี 2 แบบ คือ

1.1 หน่วยงานใหญ่ ( System ) แบ่งออกเป็นหลาย หน่วยงานย่อย ( Sub-system ) ซึ่งแต่ละหน่วย มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้น การประสาน ระหว่าง สารสนเทศ จึงแน่นแฟ้น ด้วย MIS จึงควรเป็นแบบ รวม



1.2 หน่วยงานใหญ่แบ่งเป็นกลุ่มของหน่วยงานย่อย โดยแต่ละกลุ่มยังแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อย อีกชั้นหนึ่ง ความสัมพันธ์จึงเน้นอยู่ภายในกลุ่ม MIS ย่อยในแต่ละกลุ่ม เป็นหลัก และ ควรเพิ่ม ความสัมพันธ์ ระหว่าง MIS ของแต่ละกลุ่ม เพื่อประโยชน์ของการบริหาร ระดับ Top Management

ตามแนวตั้ง ในแต่ละ block หมายความถึง หน้าที่ และ ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานย่อยหนึ่ง ๆ เช่น องค์กรด้านธุรกิจ แบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อย ด้าน การเงิน การตลาด การผลิต ฯลฯ หน่วยงานย่อยเหล่านี้ อาจมีความเชื่อมโยงกัน หรือ ไม่มี ก็ได้
ตามแนวนอน โดยปกติแล้ว ทุกหน่วยงานย่อมมีกิจกรรม ซึ่งเรียกว่า Activity Subsystem เป็นการแบ่งงานตาม ลำดับ ของการบริหารงาน ( 4 ระดับ )

อ้างอิง http://www.rta.mi.th/chukiat/story/MIS.htm

สิ่งที่ได้รับจากบทความ

MIS คือระบบการประมวลผลข้อสนเทศ หมายถึงการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อสนเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ในการบริหารงานขององค์กรอย่างทันการ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และเทคโนโลยี ด้านข่าวสารข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้สาระสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อ การปฎิบัติงาน การบริหาร การตัดสินใจภายในองค์กร


Sniffer

Sniffer - ดาบสองคมของ Networking

Sniffer คืออะไร และทำงานอย่างไร แล้วทำไมผมเขียนว่า "ดาบสองคม" มาดูกัน
Sniffer คือโปรแกรมที่เอาไว้ดักอ่านของมูลที่วิ่งอยู่บน Traffic (Traffic แปลเลย ตรงตัว คือการจราจรบนระบบ network นะ) มันทำหน้าที่ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไปวิ่งมาบนเน็ตเวิร์คที่มันอยู่ (คล้ายๆ การดักฟังโทรศัพท์ แต่การดักฟังโทรศัพท์จะทำได้ทีละเครื่อง แต่ sniffer ทำได้ทีเดียวทั้ง network เลย) การใช้ sniffer เข้ามาใน ระบบ network นั้นทำให้มาตราการรักษาความปลอดภัยบน network นั้นด่ำลงไปเลย เพราะแรกเริ่ม sniffer เป็นชื่อโปรแกรมของบริษัท Network Associates Inc. สหรัฐฯ เพื่อใช้ในผลิตภันณฑ์ของตนเองในเครือ Sniffer Network Analyzer ซึ่งเป็นโปรแกรมวิเคราะห์ network โดยอาศัยการดักอ่านข้อมูล แรกเริ่ม มันถูกสร้างมาเพื่อการป้องกัน (คือเอามาตรวจสิ่งที่วิ่งอยู่บน network นั่นเอง) ต่อมา มันได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย จน hacker ได้เอาไปใช้ด้วย และชื่อ Sniffer ก็กลายเป็นที่ติดปาก และใช้เรียกโปรแกรมประเภทดักอ่านข้อมูลว่า "Sniffer" ไปซะหมด (คล้ายๆ คำว่า มาม่า หรือ แฟ็บนะ) เมื่อมี hacker หัวใส นำโปรแกรมที่ใช้ป้องกัน ไปทำลาย มันจึงเป็นดาบ2คม คือ หากเราเอามาใช้ในการตรวจ ระบบ network ของเรา ก็เป็นประโยชน์ (แม้บางครั้งอาจจะละเมิดความเป็นส่วนตัวไปบ้าง) แต่หากเราเอาไปใช้ในการดักอ่าน ของมูล เพื่อ hack ล่ะ เช่น เอาไปวางไว้บนทางของ ระบบอีเมว ก็ทำให้ข้อมูลทั้งหมด ของอีเมว โดนอ่าน (ทั้งๆ ที่มันควรจะเป็นความลับ) นี่คือดาบ 2 คนที่ผมพูดถึง

หลักการทำงานของ Sniffersniffer สามารถดักอ่านข้อมุลบน network ได้นั้นมีสาเหตุสำคัญคือ ด้วยลักษณะ protocol ethernet ที่ใช้หลักของการกระจายข้อมูล ไปยังทุกโฮสต์ที่อยู่ใน Network

ใน network นั้นจะมีโฮสต์ (คอมเครื่องต่างๆ) อยู่ และก็จะมี Hub เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร และ hub นี่แหละที่ใช้ protocol ethernet คือโฮสต์ทุกโฮสต์ หากจะติดต่อกับโฮสต์อื่นๆ ก็จะผ่าน hub ซึ่ง การใช้ hub นั้นหาก เครื่อง 1 ต้องการติดต่อกับ เครื่อง 3 Hub ก็จะรับข้อมูลจากเครื่อง 1 แล้วก็ส่งไปให้มันซะทุกเครื่องเลย แต่พอเครื่องต่างๆ ได้ร้บ แล้วเห็นว่าไม่ใช่ของตนเองก็จะทิ้งไป ส่วนเครื่องที่ 3 เมื่อเห็นว่าข้อมูลจ่าหน้าถึงตัวเอง ก็จะรับไว้ เช่นนี้ หากเครื่อง 5 มี sniffer เครื่องที่ 5 ก็สามารถดักจับข้อมูลได้ด้วย เพราะช้อมูลวิ่งแหลก ไปซะทุกเครื่องเลย แต่การใช้ switch นั้น หากเครื่อง 2 เครื่อง ติดต่อกัน จะแยกกันเป็นคู่ๆ เลยจะไม่มีการส่งแหลกลาน ทำให้ sniffer ไม่สามารถใช้งานได้บน switchจากในรูป Hub จะใช้การกระจายข้อมูล หากเครื่องใดเครื่องหนึ่ง มี sniffer อยู่ก็จะสามารถดักข้อมูลได้ ข้อมูลที่ได้อาจจะเป็น รหัสผ่านอีเมว, ข้อมูลฟามลับในอีเมว, รวมทั้งข้อมูลอื่นๆด้วยแต่ใน Switch นั้น sniffer ใช้การไม่ได้ เพราะมีการแยกสัญญาณกันชัดเจนsniffer นั้นมีอยู่หลากหลาย ตั้งแต่ sniffer ที่ดักจับข้อมุลแบบดิบๆ คือจับมาได้ ก็แสดงเอาท์พุตออกเลย บางครั้งข้อมูลดิบที่ได้เป็นการเข้ารหัสไว้ ก็ทำให้ต้องมานั่งแปลกันอีก บางชนิด ก็จับข้อมูลก็แปลให้ด้วย ซึ่ง sniffer นั้นมีการพัฒนาไปอย่างมาก

การป้องกันการถูกดักอ่านข้อมูลโดย snifferเมื่อรู้แล้วว่า sniffer
มีโทษ เราก็มาดูวิธีป้องกันกันดีกว่า
1. อย่างแรกเลย เปลี่ยนจาก Hub มาใช้ Switch (แพงกว่าไม่มาก)
2. หลีกเลี่ยงการส่งข้อมูลที่ไม่มีการเข้ารหัส
3. ให้ตระหนักว่า ใน network นั้นสามารถถูกดักอ่านได้เสมอ เพราะฉะนั้นการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง ต้องประเมินว่า หากโดนดักอ่านแล้วจะคุ้มกันมั้ย หากมีความสำคัญมากควรหาวิธีอื่นในการส่งข้อมูล
4. หากมีการใช้บริการเกี่ยวกับด้านการเงิน หรือข้อมูลรหัสผ่าน ให้เลือกใช้ผู้บริการที่เข้ารหัสข้อมูลด้วย SSL
5. หากสามารถเพิ่มความปลอดภัยของการส่งข้อมูลด้วยการเข้ารหัส ก็จะเป็นวิธีที่ดี แม้การส่งแบบนี้จะโดนดักได้ แต่ข้อมูลมีการเข้ารหัสไว้ ทำให้คนที่ดักไป ต้องไปนั่งปวดหัวถอดกันอีก ส่วนโปรแกรมเข้ารหัสไฟล์ก็มีให้เห็นกันพอสมควรแล้ว
6. หากมีการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กรโดยผ่านอินเทอร์เน็ต การนำเทคโนโลยีของ VPN (Vitual Private Network) มาใช้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้

การใช้ประโยชน์จาก Sniffer
เอาละคงไม่มีสิ่งใดมีโทษเสียอย่างเดียว เรามาดูจุดประสงค์ที่มัน (sniffer) เกิดมากัน ว่าจะมีประโยชน์แค่ไหน
1. Network Analyzer แปลตรงตัวครับ คือการนำ sniffer มาดักข้อมูลบนเน็ตเวิร์คทำให้เรารู้ว่า network นั้นเป็นไปอย่างไร มี packet (หรือข้อมูล) ที่วิ่งไปวิ่งมานั้น มีอะไรบ้าง และ แพ็กเก็ต ที่วิ่งไปวิ่งมา มีอันตรายอะไรหรือเปล่า มีผู้ใช้มาน้อยเพียงไร เวลาใดมีคนใช้เยอะและเวลาใดมีคนใช้น้อย ผู้ใช้ ใช้แบนด์วิดธ์ไปในทางไหนบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถเอามาประเมินเพราะจัดการระบบ network ของเราได้
2. Network Debugging Toolsในบางครั้ง Application ที่สื่อสารกันบน network นั้นเกิดมีความผิดพลาดขึ้นมาในการส่งข้อมูลและสื่อสาร เราต้องสืบลงไปดูถึงการวิ่งของ แพ็กเก็ตกันเลย และ sniffer นี่แหละที่จะช่วยไปสืบมาให้เราดู เพื่อจะดูว่า การส่งข้อมูลนั้นถูกต้องหรือไม่ มีอะไรแปลกปลอมวิ่งอยู่รึเปล่า โดนเฉพาะกรณีที่มีการใช้เครื่องมือระดับ network มาเกี่ยวด้วย เช่น ส่งไฟล์ผ่าน fire wall แล้วมีปัญหา หรือการทดสอบ ACL (Access Control List) ของเราเตอร์ เป็นต้น หากไม่มี sniffer แล้วเราก็จะหากต้นตอของปัญหาได้ยาก
3. Packet Monitoring กรณีการศึกษาโปรโตคอลในระดับ network จำเป็นต้องเห็นข้อมูลที่มันสื่อสารกันจึงจะเห็นภาพจริงได้ packet monitoring เป็นการนำแพ็กเก็ตมาแสดงให้ดูให้ผู้ใช้เห็นในรูปแบบต่างๆ เช่นการ scan ของ hacker หากไม่มีเครื่องมือประเภท sniffer แล้วเราก็จะรู้ได้ลำบาก
4. IDS (Intrusion Detection System)IDS คือ ระบบตรวจจับผู้บุกรุก เป็นตัวที่อยู่บน traffic เพื่อดูข้อมูลที่วิ่งไปวิ่งมาบน network ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง และหากมีข้อมูลที่เป็นอันตราย ตามที่มันได้ถูก config ไว้มันก็จะเตะข้อมูล(หรือแพ็กเก็ต)นั้นทิ้งไป และหากมันพบว่าข้อมูลไม่เป็นอันตราย มันก็จะอนุญาติให้ผ่านไป การทำงานต่างกับไฟล์วอลนะ อย่าเหมารวมกัน ซึ่ง IDS นั้นถือว่าเป็นเครื่องมือกันทรงพลังของเหล่า admin. เลย และ IDS ก็จะมี sniffer อยู่ในตัวมันด้วย

ต่ออีกนิดกระนั้นก็ดี หากผู้ใช้ sniffer ในทางดีมันก็จะทำความดีให้ แต่หากใช้ในทางไม่ดีผลมันก็ออกมาไม่ดี อย่างไรก็ตามทั้ง IDS, SSL หรือ VPN ต่างก็ไม่ perfect ถึงขั้น 100% ทุกอย่างนั้นเราไม่สามารถเพิ่งมันได้ทั้งหมด (เหมือนกับ anit-virus นั่นแหละ) เพราะเหตุนี้ มนุษย์จึงยังต้องมีหน้าทีอยู่ คือควบคุมไอ้พวก โปรแกรมทั้งหลายให้เป็นไปได้อย่างถูกต้องลองคิดดูหากเมื่อ IDS, SSL,VPN หรือกระทั่ง anit-virus ทำงานได้ perfect 100% แล้ว มนุษย์จะมีประโยชน์อะไร จงจำไว้ว่าเราคือผู้ควบคุมมัน หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ก็จงอย่างไปโทษมัน
** อยากจะรู้ว่าคุณมีความเติบโตมากแค่ไหน ก็ให้ดูว่าเมื่อเกิดปัญหา คุณโทษใคร **

อ้างอิง http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-2390.html

สิ่งที่ได้รับจากบทความ
Sniffer คือโปรแกรมที่เอาไว้ดักข้อมูลบนเน็ตเวอร์ คล้ายๆ กับการดักฟังโทรศัพท์ แต่การดักฟังโทรศัพท์ทำได้ที่ละเครื่อง แต่ Snifferทำได้ที่เดียวทั่งเน็ตเวอร์เลย การใช้ Sniffer เข้ามาในระบบเน็ตเวอร์ทำให้มาตราความปลอดภัยในระบบ เน็ตเวอร์ต่ำลงมาก เริ่มแรกมันถูกสร้างมาเพื่อเอามาตรวจสิ่งที่อยู่บนเน็ตเวอร์ ต่อมาได้มีการถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จนพวก แฮกเกอร์ได้นำเอามาใช้ด้วย และชื่อ Sniffer ก็กลายเป็นที่ติดปากและใช้โปรแกรมประเภทดักข้อมูลว่า Sniffer ไปซะหมด เมื่อมีแฮกเกอร์หัวใสนำโปรแกรมที่ใช้ป้องกันไปทำลาย มันจึงเป็นดาบสองคม
ถ้าหากในประเทศไทยมีคนใช้โปรแกรมนี้ผมคิดว่า มันไม่ดีเอาซะเลยเปนการล่วงละเมิดสิทธฺิ ข้อมูลของคนอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้ ไวรัส MSN แบบง่ายนิดเดียว!!!

โอ้ยยยย เพื่อนๆทักมาด่าเต็มเลย ทั้งที่เราก็ไม่ได้ทำอะไรลงไปเลยนะ เอ๊ะ หรือว่า เรากำลังจะติด ไวรัส เอ็มเอสเอ็น (Virus MSN) ทำไงดีๆ ส่งไฟล์อะไรก็ไม่รู้ไปให้เพื่อน แถมเพื่อนตัวดีก็กดรับ แล้วก็ติดกันระบาดไปหมด




วิธีแก้ง่ายนิดเดียว หลักการของการแก้ก็คือ เปลี่ยนพาสใหม่ หรือ ชื่อไทยก็เปลี่ยนรหัสลับใหม่ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องตลก เพราะมันแก้ได้จริงๆ แล้วจะอึ้ง



เริ่มแรกก็คลิกที่ตัวเลือก ----> ตัวเลือกเพิ่มเติม


จัดการบัญชีของคุณ ----> ดูและแก้ไข ใครเป็นภาษาอังกฤษก็กดบรรทัดแรกเอา อิอิ



พิมพ์รหัสผ่านกันอีกครั้ง


คลิกเปลี่ยนรหัส

ขั้นตอนสุดท้ายเปลี่ยนรหัสใหม่ กอกรหัสเดิมก่อน แล้วค่อยกรอกรหัสใหม่ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะมีหลายคนที่เปลี่ยนใหม่แล้วจำรหัสไม่ได้ ควรเปลี่ยนรหัสที่จำง่ายๆก่อน *****เมื่อเปลี่ยนใหม่แล้ว ค่อยเปลี่ยนกลับมารหัสเดิมในอีกวัน-2 วันข้างหน้า*****

สรุปกันอีกทีเพื่อกัน งง?? เปลี่ยนรหัสชั่วคราว จากนั้นทิ้งไว้ 1-2 วัน หรือ อาจจะ 1-2 ชม. แล้วแต่กรณี หรือบางคนจะเปลี่ยนไปเลยก็ได้เพื่อความแน่ใจ รับรองไวรัส MSN จะไม่โผล่มาให้เห็นอีกเลย
*****เป็นวิธีการแก้ วิธีหนึ่งเท่านั้น อาจจะไม่ได้ผลกับไวรัสบางตัว*****

อ้างอิง ขอขอบคุณ http://tech.mthai.com/views_2_MSN-virus-2009-window-lives_62_33976_1.html

สิ่งที่ได้รับจากบทความ

ได้รับแน่ๆ เลยคือวิธีการ แก้ไวรัสบน MSN เพื่อป้องกันการเผยแพร่ไวรัส ผมอ่านดูแล้วคือการป้องกันการโอรไฟร์งานอัตโนมัติจาก ผมไปสู้เพื่อนซึ่งผมก็เคยเจอ บางครั้งเพื่อนโอนไฟร์ มาให้ผมก็กดรับพอถามมันบอกว่ากดรับทำไม ข้อความข้างบนนี้เป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ไวรัส หรือป้องกันการถ่ายโอน และบางคนที่ไม่รู้ นี้เป็นสิ่งอย่างยิ่งที่เราควรจะรู้ เพราะบางครั้งอยู่ๆก็มีการโอนไฟร์มา เราไม่รู้ บทความนี้สำหรับผมนะถือว่ามีประโยชน์อย่างมากเลยจะขอเอามาให้เพื่อนๆได้อ่านและ รับรู้วิธีป้องกันไวรัสตัวดีนี้กัน ขอให้สนุกกับข้อมูลนะคับ


มารู้จัก จอฟ้า มรณะกันเถอะ


จอฟ้ามรณะ คือสถานการณ์ที่ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้อง ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โดยเฉพาะวินโดวส์ (Windows) ซึ่งเป็นการพยายามติดต่อกับผู้ใช้โดยจะแสดงผลเป็นหน้าจอสีน้ำเงิน (หรือสีฟ้าเช่นในเอกซ์บอกซ์) พร้อมกับรายละเอียดทางเทคนิคในจุดที่ทำให้ระบบไม่สามารถทำงานต่อไปได้ และเลขรหัสเปรียบเทียบเพื่อนำไปใช้ค้นหาในเว็บไซต์ส่วนช่วยเหลือของบริษัทผู้ผลิต การแสดงจอฟ้ามรณะจะทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบ

สาเหตุหลักของการเกิดจอฟ้ามรณะในวินโดวส์ตระกูลเอ็นที คือไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ภายนอกไม่มีประสิทธิภาพ หรือฮาร์ดแวร์ทำงานผิดปกติ ส่วนในวินโดวส์ตระกูล 9x การใช้งาน DLL ที่เข้ากันไม่ได้กับระบบ หรือบั๊กที่เกิดขึ้นในเคอร์เนล ก็สามารถทำให้เกิดจอฟ้ามรณะได้ นอกจากนั้นจอฟ้ามรณะสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติทางกายภาพ เช่นความผิดปกติของหน่วยความจำ ปัญหาการจ่ายไฟฟ้า ส่วนประกอบที่มีความร้อนสูงเกินกำหนด (overheat) หรือฮาร์ดแวร์ที่ทำงานเกินกว่าขีดจำกัดที่กำหนดไว้
อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0

วินโดวส์วิสตา


วินโดวส์วิสตา (Windows Vista) คือระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ที่พัฒนาต่อมาจากวินโดวส์เอกซ์พี และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550

ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ วินโดวส์วิสตา อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์
วินโดวส์วิสตาได้มีความสามารถใหม่หลายร้อยรายการ ไม่ว่าจะเป็นระบบแสดงผลกราฟิกใหม่ โปรแกรมใหม่ ความสามารถค้นหาที่ดีกว่าเดิม รวมถึงระบบองค์ประกอบภายในอย่างในส่วนเน็ตเวิร์ก ระบบเสียง การพิมพ์ และการแสดงผลที่ได้ถูกออกแบบและเขียนขึ้นมาใหม่ และยังได้รวมดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ซึ่งช่วยผู้พัฒนาระบบสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม

การพัฒนา
วินโดวส์วิสตา ได้เริ่มพัฒนาครั้งแรกภายใต้ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) ในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 และในภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น วินโดวส์วิสตา

ความสามารถใหม่
Windows Aero - ระบบวินโดวส์แอโร่ ระบบการแสดงผลกราฟิกใหม่ โดยจะมีลักษณะเป็นแบบโปร่งแสง สามารถมองเห็นหน้าต่างอื่นในฉากหลังได้
Window Desktop Manager - Window Desktop Manager หรือเรียกสั้นๆ ว่า WDM เดิมถูกเรียกว่า Desktop Compositing Engine หรือ DCE โดยถูกเพิ่มเติมมาพร้อมกับวินโดวสวิสตา ซึ่งทำให้วินโดวส์ แอโร สามารถใช้งานได้ โดยผู้ใช้ต้องติดตั้ง DirectX 9 โดย WDM จะคล้ายกับ Quartz Compositor ใน Mac OS X ซึ่งไม่สามารถจัดการผ่านทางหน้าจอได้โดยตรง
Windows Media Center, Windows Movie Maker ที่ให้ความละเอียดสูง และ Windows DVD Maker และยังมีคุณลักษณะทั้งหมดของ Windows Vista Business ด้วย ซึ่งได้แก่ ระบบเครือข่ายของสำนักงาน เครื่องมือการจัดการแบบรวมศูนย์ และคุณลักษณะขั้นสูงของการสำรองข้อมูลของระบบ และ Windows Vista Ultimate มีคุณลักษณะการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลแบบใหม่ทั้งหมดซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพการทำงานที่วางใจได้ของ Windows Vista ให้สูงขึ้นกว่าเดิมทั้งระบบ

นอกจากนี้ Windows Vista Ultimate ยังสนับสนุนคุณลักษณะของระบบเคลื่อนที่ใหม่ใน Windows Vista ซึ่งได้แก่ Windows Tablet และ Touch Technology, Windows SideShow, Windows Mobility Center

อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/Windows_Vista





วินโดวส์ 7


วินโดวส์ 7 (อังกฤษ: Windows 7 วินโดวส์เซเวน) เป็นซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ ในปัจจุบันมีรุ่นทดสอบที่ยังไม่สมบูรณ์เปิดให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดฟรีทดลองใช้ ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตา


คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัชมีการออกแบบวินโดวส์เชล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup) ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี


รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย


ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ชื่อของวินโดวส์ 7
วินโดวส์ 7 เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวที่ 7 ของสายตระกูลวินโดวส์ Windows 7 ในแรกเริ่มเดิมทีมีชื่อหรือรหัสในการพัฒนาว่า แบล็คโคมบ์ (Blackcomb) ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น เวียนนา (Vienna) โดย Windows 7 จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับ Vista ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งคำว่า 7 น่าจะมาจากการเป็นวินโดว์รุ่นที่ 7 โดยเริ่มจากการนับ Windows 1.0-3.0, Windows NT คือ 3.1, Windows 95 Windows NT4 คือ 4.0, Windows 98 คือ 4.0.1998, Windows 98 SE คือ 4.10.2222 Windows ME คือ 4.90.3000, Windows 2000 คือ 5.0, Windows XP คือ 5.1, Windows Vista คือ 6.0 และ Windows 7 คือ 6.1
ฮาร์ดแวร์
ไมโครซอฟท์ได้ระบุความต้องการขั้นต่ำของซอฟต์แวร์สำหรับ วินโดวส์ 7 RC ไว้
32-บิต
ซีพียู 800 Mhz(ขั้นต่ำ) 1 Ghz แนะนำ
แรม 1 GB (512MB ขั้นต่ำ)
การ์ดแสดงผล DirectX 9 (พร้อมเมโมรี 128MB สำหรับ Aero) และ WDDM 1.0
ฮาร์ดดิสก์ 16 GB
64-บิต
ซีพียู 800 Mhz(ขั้นต่ำ) 1 Ghz แนะนำ
แรม 2 GB

การ์ดแสดงผล DirectX 9 (พร้อมเมโมรี 128MB สำหรับ Aero) และ WDDM 1.0
ฮาร์ดดิสก์ 20 GB
อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C_7

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

สูตร =IF(K5>=80,"A",IF(K5>=75,"B+",IF(K5>=70,"B",IF(K5>=65,"C+",IF(K5>=60,"C",IF(K5>=55,"D+",IF(K5>=50,"D","E")))))))

อ้างอิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/คอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์
1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประโยชน์ทางตรง
ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆเช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

2. ประโยชน์ทางอ้อม
คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น


อ้างอิง http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/athiga_p/com_p5/com01p03.html





cvs. โรคอันตรายจากคอมพิวเตอร์

สวัสดีคับ ยุคนี้ไม่ว่าใครก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานกันทั้งนั้น บางคนนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง และคุณทราบไหมคะว่าการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกวิธีอาจทำให้คุณมีอาการผิดปกติที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome หรือ CVS ซึ่งจะคุกคามสุขภาพของเราได้คับ..

นี่แหละอาการ CVS Computer Vision Syndrome หรือ CVS คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งมักจะเกิดอาการดังนี้คับ...
- เมื่อยล้าในลูกตา
- ปวดเบ้าตา
- มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน รู้สึกไม่สบายตา
- ตาสู้แสงไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา
- มีรอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา

นอกจากนี้อาจจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลังอีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะพบในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันเป็นประจำคับ

สาเหตุ CVS
อาการปวดตาและแสบตาเกิดขึ้นจากการที่ตาแห้งและกล้ามเนื้อตาเกร็งตัวเนื่องจากลืมกะพริบตาเพราะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยกะพริบตาบ่อยๆ เมื่อรู้สึกตัวว่าปวดตาหรือแสบตา อาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ้างก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดตาและแสบตาได้เช่นกัน ส่วนอาการตามัวหรือปวดศีรษะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อพักสายตาแล้วส่วนใหญ่อาการก็จะดีขึ้นคับ

นอกจากนี้แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ และการที่แสงสว่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือแสงสว่างในห้องไม่เหมาะสม ทำให้ต้องเพ่งสายตาทำงานในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่งมองเกิดตึงและเกร็งก็จะนำมาซึ่งอาการปวดตาและปวดศีรษะได้คับ

ส่วนอาการอื่นๆ มีผลจากการวางคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ต้องนั่งในท่าผิดปกติเป็นระยะเวลานาน จนเกิดปัญหากับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดที่กระดูกข้อมือ ปวดไหล่ ปวดคอ รวมถึงปวดหลังได้คับ

การป้องกัน CVS คุกคาม
1. วางจอคอมพิวเตอร์ให้มีระยะห่างจากระดับสายตา 20 – 24 นิ้ว และวางอยู่ระดับที่ต่ำกว่าระดับสายตา 10 – 20 องศา ซึ่งเป็นมุมในการมองคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้สบายตาที่สุด
2. ปรับแสงสว่างเหมาะสม เริ่มต้นที่ความสว่างของห้องเพียงพอ ส่วนความสว่างบริเวณรอบจอและความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรปรับให้สว่างเท่าๆ กับความสว่างของห้อง เพื่อไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป
3. ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อช่วยลดแสงสะท้อนติดที่หน้าจอ และจัดแสงภายในห้องทำงานไม่ให้มีแสงสะท้อนมาที่จอคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้แสงสว่างสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ และแสงสะท้อนยังทำให้หน้าจอสว่างจนมองเห็นไม่ชัดเจนจึงต้องเพ่งสายตามากเกินไปค่ะ
4. ขนาดของตัวหนังสือบนหน้าจอควรจะมีขนาดประมาณ 3 เท่าของขนาดตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้จากจอคอมพิวเตอร์ในระยะเดียวกัน ส่วนสีของตัวหนังสือควรเป็นสีดำบนพื้นสีขาวค่ะ
5. ฝึกนิสัยกะพริบตาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการคลายกล้ามเนื้อ และพักสายตาที่ใช้ในการมองใกล้โดยให้มองไปในที่ไกลๆ นานประมาณ 1-2 นาที อย่างน้อย 1-2 ครั้งทุกชั่วโมง และหยุดพักการทำงานประมาณ 5-15 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง
6. หากสายตายาว ควรใช้แว่นสายตาชนิด Progressive lens ซึ่งมีช่วงการมองหรือจุดโฟกัสหลายระดับ โดยเฉพาะที่สำคัญคือระยะกลาง (intermediate zone) ซึ่งเป็นตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ควรเลือกเลนส์แว่นตาแบบเคลือบสารที่ป้องกันการสะท้อนเพื่อช่วยลดการสะท้อนของแสงเข้าตาคับ
7. สำหรับปัญหาปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลัง นอกจากจะแก้ด้วยการจัดระดับจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมแล้ว ท่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องก็มีความสำคัญ โดยควรนั่งตัวตรง เอนหลังไปด้านหลังเล็กน้อย แขนทั้งสองในขณะกดแป้นพิมพ์ให้อยู่ในแนวขนานกับพื้น ส่วนเท้าควรวางราบกับพื้นคับ

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/khingchomphuu/2008/06/18/entry-1

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เลอโนโว เชื่อข้อพิพาทจีน-กูเกิลไม่กระทบธุรกิจมือถือในแดนมังกร


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)


เลอโนโว กรุ๊ป บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยักษ์ใหญ่ในจีนมั่นใจแผนเปิดตัวธุรกิจมือถือในแดนมังกรไปได้สวย เชื่อไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่กูเกิลออกมาขู่ว่าจะปิดสำนักงานและระงับการให้บริการเว็บไซต์ในประเทศจีน โดยเลอโนโว คาดการณ์ว่า สำหรับตลาดในประเทศจีนนั้น บริษัทจะสามารถทำยอดขายอุปกรณ์มือถือได้มากกว่าคอมพิวเตอร์





กรมตรวจฯปรับลุคใหม่ร่วม 11 สถาบันสร้างนักบัญชีสหกรณ์รุ่นใหม่


หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


ภายหลังที่เทคโนโลยีอันทันสมัย โดยเฉพาะด้านอิเลคทรอนิค คอมพิวเตอร์ซึ่งปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในสังคมยุค "ไฮเทค"วิวัฒนาการด้านต่างๆเริ่มแทรกซึมเข้ามาในชีวิตคนเรา โดยเฉพาะในด้าน "การบัญชี"ที่ค่อนข้างได้รับอานิสงส์อย่างมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การที่นักบัญชีศึกษาหันมาใช้

เปิดตัว Fujitsu LifeBook UH900

วันนี้ นางสาวยูนีส แท็ง (คนกลาง) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท ฟูจิตสึ พีซี เอเชีย แปซิฟิค จำกัด บินตรงมาเปิดตัว Fujitsu LifeBook UH900 อย่างเป็นทางการ Fujitsu LifeBook UH900 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีมือถือที่มอบความสะดวกในการพกพาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการคอมพิวเตอร์ ด้วยน้ำหนักเครื่องที่เบากว่า 500

ไอดีซี รายงานว่า ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในเอเชียแปซิฟิกดีดตัวขึ้นถึงร้อยละ 32 ในไตรมาส 4 ปี 2552

ThaiPR.net

จากรายงานการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของไอดีซี พบว่า ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2552 มีอัตราการเติบโตที่ลดลงประมาณร้อยละ 3 จากไตรมาส 3 ปี 2552 แต่กลับมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 เมื่อเปรียบ เทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551ซึ่งเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงร้อยละ 4

อ้างอิง http://www.ryt9.com/technology/tag/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/



5 เทรนด์เทคโนโลยี ปี 2553



.....................................................................

โดยปกติงาน "คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์" (CES) ที่เริ่มต้นในช่วงหลังปีใหม่ บรรดาผู้ผลิตมักขนผลิตภัณฑ์ใหม่มาโชว์กัน และเป็นแหล่งรวมเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

LiveScience.com รายงานเทรนด์ด้านเทคโนโลยีในปี 2553 ที่รวบรวมโดยผู้จัดงาน CES ว่า

เทรนด์แรก คือ เทรนด์ 3 มิติ และทีวีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยในปีหน้าจะมีภาพยนตร์ 3 มิติหลายเรื่อง ซึ่งจะผลักดันอุตสาหกรรมทีวีและภาพยนตร์ โดยเฉพาะการชม 3 มิติภายในบ้าน ซึ่งเริ่มมีหลายบริษัทโฟกัสไปที่การผลิตสินค้าเกี่ยวกับ 3 มิติในปีนี้ และน่าจะมีบริษัทอีกหลายแห่งเข้าร่วมเทรนด์นี้ในปีหน้า

นอกจากนี้ ทีวีที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็มาแรง เพราะไม่ว่าอย่างไรชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็หนีไม่พ้นอินเทอร์เน็ต รวมถึงทีวี ซึ่งผู้ผลิตหลายรายกำลังพัฒนาทีวีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และบรรดาแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้กับทีวี ซึ่งหมายความว่าทุกๆ อย่างที่เคยใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถใช้งานผ่านทีวีได้เช่นกัน

เทรนด์ที่ 2 เทรนด์การขายคอนเทนต์และการสมัครสมาชิก ซึ่งเป็นความพยายามของบริษัทที่จะต่อกรกับการละเมิดลิขสิทธิ์ และความต้องการเพิ่มรายได้จากคอนเทนต์ในทุกๆ รูปแบบ ทั้งข่าว รายการทีวี เพลง หนังสือ และภาพยนตร์ โดยบริษัทจะนำคอนเทนต์ที่มีมารวมเพื่อสร้างพันธมิตรและนำเสนอเป็นแพคเกจ อาทิ การสมัครสมาชิกรายเดือน ซึ่งผู้สมัครจะได้รับคอนเทนต์จากผู้ให้บริการเป็นบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ยังเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดต่อไปว่าบริษัทจะสามารถบริหารคอนเทนต์ข้ามสื่อ ระหว่างทีวี คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร ท่ามกลางยุคที่ผู้ใช้ต้องการเสพเนื้อหาจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย

เทรนด์ที่ 3 แท็บเล็ต พีซี หรืออุปกรณ์ที่ใหญ่กว่ามือถือแต่เล็กกว่าโน้ตบุ๊ค โดยปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือที่หน้าจอใหญ่กว่า 4 นิ้ว เน็ตบุ๊คและแล็บทอปที่มีหน้าจอตั้งแต่ 10-17 นิ้ว ขณะที่อุปกรณ์หน้าจอ 5-9 นิ้วยังไม่ค่อยมี ทำให้ผู้ผลิตหลายรายพยายามจะเติมเต็มตลาดในส่วนนี้ ซึ่ง "แท็บเล็ต" (Tablet) หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบพกพา ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ดูหนัง และฟังเพลงได้สะดวกกว่าใช้เครื่องแล็บทอป ขณะเดียวกับก็มีหน้าจอที่ใหญ่กว่ามือถือ ซึ่งคาดว่าหลายบริษัทน่าจะเปิดตัวอุปกรณ์ในแคธิกอรีนี้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เน็ตบุ๊คยังคงมาแรงในปีหน้า เนื่องจากยอดขายยังไปได้ดี และมีการผลิตมากขึ้น นอกจากนี้ อินเทล ยังเตรียมเปิดตัวโปรเซสเซอร์สำหรับทำให้เครื่องเน็ตบุ๊คมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

เทรนด์ที่ 4 แอพพลิเคชั่นเป็นผู้คุมกฎ ดังจะเห็นได้จากการที่แอปเปิลใช้โมเดลนี้กับ "ไอโฟน" และ "ไอพอด" เพราะผู้คนต้องการเลือกฟังก์ชั่นที่จะใช้กับอุปกรณ์ของตัวเอง และแอพพลิเคชั่นก็จะทำให้ผู้ใช้สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับอุปกรณ์ของตัวเองตามที่ต้องการได้ ซึ่งนี่ทำให้ผู้ผลิตต่างพากันคิดค้นแอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์เฉพาะที่จะใช้กับอุปกรณ์ที่ตัวเองผลิตขึ้น โดยเทรนด์นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่มือถือ หากแต่ยังขยายไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ทีวี แล็บทอป และทาเบล็ต ที่จะอยู่หรือจะไปก็เพราะแอพพลิเคชั่นที่โดนใจหรือไม่

เทรนด์ที่ 5 "โกอิ้ง กรีน" ยังเป็นเทรนด์ยอดนิยม แม้จะไม่ใช่เทรนด์ใหม่ เพราะเทรนด์สีเขียวได้กลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต่างพากันใช้เรื่องนี้เป็นจุดขาย ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานน้อยลง กระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ บริษัทจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมหากใช้เงินซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจโลกเหล่านี้ แม้จะมีราคาแพงกว่าเดิม

อ้างอิง http://www.wiseknow.com/content/view/2477/1

ขอขอบคุณ เว็ป WiseKnow.Com

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Data transmission Channels)

ระบบแบบเดินสายเคเบิล (Wired system)
จะรวมถึงสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด โดยระบบเครือข่ายที่เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ห่างกันไม่มากนักจะสามารถใช้วิธีเดินสายแบบต่าง ๆ เอง ส่วนสายเคเบิลสำหรับการติดต่อระยะไกลโดยปกติก็คือระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม (POTS - Plain Old Telephone Service) นั่นเอง
สายสัญญาณที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จะมีชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะระเครือข่าย และความต้องการในการใช้งานดังนี้


สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลต์และไม่มีชีลต์ (Shielded and UnShielsed Twisted-Pair Cable)
เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้มจำนวน 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วสายคู่บิตเกลียวจะ หมายถึง สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (UTP) ซึ่งใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และใช้ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ส่วนมาก ในขณะที่ สายคู่บิดเกลี่ยวแบบมีซิลด์ (STP) จะมีฉนวนโลหะหุ้มอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถป้งอันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น สายเกลียวคู่หนึ่งคู่จะแทนช่องทางการสื่อสาร (channel) เพื่อให้สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่าง เช่น ระบบสายโทรศัพท์











อุปกรณ์เชื่อมต่อสายคู่บิดเกลียว














สายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐาน EIA/ITA-568 สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ


Category 1 เป็นสาย UTP ที่ใช้ในระบบสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เมหาะสำหรัส่งสัญญาณเสียงไม่เหมาะกับการส่งข้อมูล
Category 2 เป็นสาย UTP ซึ่งเหมาะสำหรับกับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที
Category 3 เป็นสาย ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 10 เมกะบิตต่อวินาที มีการใช้งานมากในระบบ Token ring แบบ 4 Mbits/sec และ 10Base-T
Category 4 เป็นสายซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 16 เมกะบิตต่อวินาที มีใช้ในระบบ Token ring แบบ 16 Mbits/sec
Category 5 เป็นสายที่เหมาะสมกับการส่งข้อมูงได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาทที มีใช้ในระบบเครือข่ายความเร็วสูงรุ่นใหม่ ๆ เช่น Fast Ethernet และ ATM (Asynchronous Transfer Mode)




สารโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
มันเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก จะเป็นสายสื่อสารที่สามรถส่งข้อมูลไกลกว่าสายแบบคู่บิดเกลียว แต่มีข้อเสียคือราคาสูงกว่า ลักษณะของสายโคแอกจะประกอบด้วยส่วนของสายส่งข้อมูลที่เป็นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนอยู่ตรงกลาง จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำเพื่อเป็นสายกราวนด์จากนั้นจึงหุ้มด้วยฉนวนเป็นเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง สารโคแอกจะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งแบบเบสแบตด์และบรอดแบรนด์ พบการใช้งานได้มากจากสายเคเบิลทีวี ในปัจจุบันการใช้งานสายโคแอกกับระบบคอมพิวเตอร์เริ่มลดลง เนื่องจากการพัฒนาของสายคู่บิดเกลียวที่ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ















อุปกรณ์เชื่อมต่อสายโคแอกเซียล










สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)

สายใยแก้วนำแสงจะประกอบด้วยใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลางของสาย และใช้ใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเป็น ตัวหุ้ม (cladding) และหุ้มด้วยฉนวนในชั้นนอกสุด ซึ่งใยแก้วชั้นนอกจะทำหน้าที่เหมือนกระจกที่สะท้อนสัญญาณแสงให้สะท้อนไปมาภายในใยแก้วที่เป็นแกนกลางจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดปลายทาง สายใยแก้วจะมีแบนด์วิธที่กว้างมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้ยังส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลกว่าและปลอดจากรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเนื่องจากใช้แสงเป็นตัวนำสัญญาณ แต่ข้อเสียคือติดตั้งและบำรุงรักษายาก รวมทั้งมีราคาแพงที่สุดในจำนวนสายสัญญาณที่กล่าวมาทั้งหมด









(ก) สายคู่บิดเกลียว (ข) สายโคแอกเซียล (ค) สายใยแก้วนำแสง

ระบบไมโครเวฟ (Micorwave system)
ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง บ่อยครั้งที่สัญญาณของไมโครเวฟจะถูกเรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) เนื่องจากสัญญาณเดินทางที่ส่งจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งจะไปได้ไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าโลกเพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรงนั่นเอง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่ ๆ สูงเพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นและลดจำนวนสถานนีที่จำเป็นต้องมี โดยปกติแล้วสถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ประมาณ 30 - 50 กม.
ปัจจบันมีการใช้ระบบไมโครเวฟกันทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งการเดินทางสายกระทำได้ไม่สะดวก นอกจากนี้ระบบไม่โครเวฟยังจัดว่ามีราคาถูก ติดตั้งง่าย และมีอัตราการส่งข้อมูลสูงด้วย แต่ข้อเสียของไมโครเวฟคือสัญญาณอาจถูกรบกวนได้จากอุณหภูมิ พายุหรือฝน



ระบบดาวเทียม (Satellite Systems)
ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟในส่วนของการใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในที่นี้จะใช้ดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36000 กม. เป็นสถานีในการยิงสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งจากการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมากนี่เองทำให้สามารถใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอนเพียง 3 ดวง ก็ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดในโลกได้ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายหางหากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ ก็ทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทางทันที เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจงส่งต่อไปยังดาวเทียมดวงที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นเพื่อส่งสัญญาณ Down-link ต่อไป
ในปัจจบันการใช้สัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งสัญญาณข้อมูล คอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์ รวมทั้งการใช้ในทางภูมิศาสตร์ ทางทหารต่าง ๆ อย่างมากมาย ข้อเสียที่สำคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศ ฝนหรือพายุ รวามทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ด้วย นอกจากนี้ข้อเสียที่สำคัญอีกอย่างคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ผ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้ว่าสัญญาณจะเดินทางด้วยความเร็วแสง แต่ระบะทางที่สัญญาณต้องวิ่งระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกถึง 2 รอบ (ขึ้น-ลง) คือ 70000 กม. ทำให้เกิดเวลาหน่วงขึ้น ซึ่งสำหรับบางงานอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้






การสื่อสายผ่านระบบไมโครเวฟและดาวเทียม






ระบบอื่น ๆ
ในปัจจบันยังมีระบบสื่อสารแบบไร้สายอื่น ๆ ที่มีการนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งบางแบบก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
ระบบอินฟาเรด (Infraed) เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ช่องเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรงระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่งทำให้มีระยะทางรับส่งที่ไม่ไกลนัก รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ๆ อยู่บ้างสำหรับพื้นที่ที่การเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก รวมทั้งมีการนำไปใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ด้วย

ระบบวิทยุ (Radio) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอย่างไรก็ดีระบบนี้จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ซึ่งจะมีข้อกำหนดในแต่ละประเทศที่เข้มงวดต่างกันไป

ระบบสเปคตรัมแถบกว้าง (Spreas Specturm) เป็นระบบคลื่นวิทยุที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนและการดักสัญญาณ ในปัจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถรับส่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 10 Mbps และมีการใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กในอาคารเดียวกัน

ขอขอบคุณ




เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต